Home ข่าวสังคม ไข้หูดับ ร้ายถึงตาย “หมอหมู” ตีแผ่ เชื้อนี้อยู่ในหมูทุกตัว

ไข้หูดับ ร้ายถึงตาย “หมอหมู” ตีแผ่ เชื้อนี้อยู่ในหมูทุกตัว

69

ไทยนิวส์ออนไลน์ ได้สัมภาษณ์ รศ.นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี อาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติเวชวิทยา มศว หรือ หมอหมู ถึงกรณีสาววัย 23 ปีติดเชื้อไข้หูดับหลังกินหมูกระทะแล้วไม่แยกตะเกียบที่ใช้คีบหมูดิบกับหมูสุก ทำให้ต้องกลายเป็นผู้พิการทางการได้ยินหูด้านซ้ายดับสนิท หูขวาได้ยินแว่วๆต้องใส่เครื่องช่วยฟัง หมอหมู ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับโรค การเข้าสู่ร่างกายของเชื้อและวิธีการป้องกัน

ไข้หูดับ ร้ายถึงตาย หมอหมู ตีแผ่ เชื้อนี้อยู่ในหมูทุกตัวไข้หูดับ ร้ายถึงตาย หมอหมู ตีแผ่ เชื้อนี้อยู่ในหมูทุกตัว

ไข้หูดับ ร้ายถึงตาย หมอหมู ตีแผ่ เชื้อนี้อยู่ในหมูทุกตัวไข้หูดับ ร้ายถึงตาย หมอหมู ตีแผ่ เชื้อนี้อยู่ในหมูทุกตัว

หมอหมูอธิบายว่า โรคไข้หูดับ คือ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า “สเตรฟโตคอกคัส ซูอิส (Streptococcus Suis)” ที่อาศัยอยู่ในหมูเกือบทุกตัว เข้าสู่ร่างกาย ซึ่งเดิมทีเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ไม่ได้ก่อให้เกิดโรค แต่หากหมูเกิดมีอาการป่วยหรือร่างกายอ่อนแอขึ้นมา เชื้อแบคทีเรียชนิดนี้จะค่อย ๆ เพิ่มจำนวน จนทำให้หมูป่วยและตาย ซึ่งหากมนุษย์ได้ไปรับเชื้อนี้เข้าสู่ร่างกาย ก็จะเกิดการติดเชื้อ ซึ่งเชื้อนี้ทำให้เกิดไข้หูดับ เกิดความพิการ และอาจติดเชื้อเข้ากระแสเลือดถึงแก่ชีวิตได้

เชื้อแบคทีเรียสเตรฟโตคอกคัส ซูอิส สามารถเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ได้ 2 ทาง คือ

1. การกินเนื้อหรือเลือดของหมูดิบหรือกึ่งสุกกึ่งดิบ เช่น เนื้อหมูที่ย่างไม่สุก
2. เชื้อผ่านเข้ามาทางบาดแผล รอยถลอก เยื่อบุตา จากการสัมผัสกับเชื้อโดยตรงหรือหมูที่ติดเชื้อ อย่างเช่นคนเลี้ยงหมูหรือเขียงหมูที่มีบาดแผลที่มือ แม้เป็นแค่แผลถลอกแต่หากสัมผัสเนื้อหมูที่ติดเชื้อโดยตรงก็สามารถรับเชื้อเข้าสู่ร่างกายได้เช่นกัน

ในประเทศไทยเอง พบโรคนี้ครั้งแรกในปี พ.ศ.2530 ในรายที่รุนแรงเชื้อแบคทีเรียนี้เข้าสู่เยื่อหุ้มสมอง ประสาทหูชั้นในทั้งสองข้าง และกระแสเลือด จนนำไปสู่การเสียชีวิต

ไข้หูดับ ร้ายถึงตาย หมอหมู ตีแผ่ เชื้อนี้อยู่ในหมูทุกตัวไข้หูดับ ร้ายถึงตาย หมอหมู ตีแผ่ เชื้อนี้อยู่ในหมูทุกตัว

ส่วนผู้ป่วยบางรายที่ไม่เสียชีวิตส่วนใหญ่ก็จะพบกับความพิการตามมา เช่น หูหนวก สูญเสียการทรงตัว ตาบอด

กรณีของคุณมายส่วนตัวคุณหมอบอกว่าถือว่าร้ายแรงแต่ไม่ถึงกับชีวิตเพราะรักษาได้อย่างทันท่วงที ส่วนความเข้าใจที่หลายๆคนเข้าใจว่าใช้ตะเกียบร่วมกันโดยไม่แยกแต่นำไปจุ่มแช่น้ำในเตาไว้นั้นไม่ได้ช่วยให้เชื้อตายเพราะจริงๆแม้เชื้อพวกนี้จะไม่ทนความร้อนก็จริงแต่ต้องเป็นความร้อนในอุณหภูมิ 70 องศา และต้องใช้เวลาอย่างน้อย 5-10 นาที เพราะฉะนั้นการที่เราแช่ตะเกียบไว้เพียงไม่กี่วินาทีจึงทำให้เชื้อจากหมูดิบยังติดอยู่ที่ปลายตะเกียบ

ป้องกันตนเองอย่างไรไม่ให้ โรคไข้หูดับ มาเยือน
1. หลีกเลี่ยงการบริโภคเนื้ออาหารดิบหรือกึ่งสุกกึ่งดิบ โดยเฉพาะเนื้อหมู ควรปรุงด้วยความร้อนที่อุณหภูมิตั้งแต่ 70 องศาเซลเซียส นานอย่างน้อย 10 นาที หรือปรุงสุกจนไม่มีสีแดงหรือเลือดที่ชิ้นเนื้อ
2. แยกอุปกรณ์ที่ใช้หยิบเนื้อหมูสุกและดิบออกจากกัน

หากต้องการให้เป็นมาตรฐานเลยก็ควรสวมถุงมือทุกครั้งในการทำอาหารนั่นเอง